วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ความเป็นมาของ ภาษา HTML

ภาษาHTML มีต้นแบบมาจากภาษาเอสจีเอ็มแอล (SGML ย่อมาจาก Standard
Generalized Markup Language) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ได้เฉพาะ กับประเภท ของคอมพิวเตอร์ สิ่งที่
HTML รับมาจาก เอสจีเอ็มแอล คือ การประกาศค่า และ การกำหนดรูปแบบเอกสาร (DTD:
Document Type Definition) ในปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990) นาย ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-
Lee) แห่งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยทางอนุภาคฟิสิกส์ของยุโรป (CERN: Conseil Europeen Pour La
Recherche Nucleaire) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ได้กำหนดไว้ว่า เพื่อสร้างสื่อที่
นักวิทยาศาสตร์สามารถจะเผยแพร่ผลงาน และใช้อ้างอิง ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และสร้าง
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่รองรับภาษาท้องถิ่น ที่ไม่ขึ้นกับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Platform) หรือ
ระบบเครือข่ายใด ๆ จากนั้นได้แพร่ขยายออกไประบบนี้จึงได้ตั้งชื่อที่เป็นที่รู้จักกันคือ เวิลด์ไวด์เว็บ
จนถึงปัจจุบัน

    พ.ศ.2533 (ค.ศ. 1991) อินเทอร์เน็ตได้เกิดและเติบโตขึ้น พร้อมกับภาษาคอมพิวเตอร์ และโพรโทคอล 
จำนวนมากเพื่อรองรับกับ การเติบโตอย่างรวดเร็วของอินเทอร์เน็ต หนึ่งในภาษาคอมพิวเตอร์และโปรโตคอลนั้นคือ ภาษาHTMLและ ทั้งนี้ถึงแม้ว่าเวิลด์ไวด์เว็บจะเป็นเพียงส่วน หนึ่งของอินเทอร์เน็ต แต่ได้รับความนิยมอย่างสูงและรวดเร็ว โพรโทคอลHttp ซึ่งเป็นส่วนย่อยของ โพรโทคอล TCP/IP จึงได้รับการพัฒนาเพื่อสนับสนุนภาษาHTML 
ซึ่งใช้ในการจัดเก็บเอกสารบนเวิลด์ไวด์เว็บ
        ได้รับการพัฒนาและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย จึงทำให้เกิดมาตรฐานในกำหนดรูปแบบเวอร์ชั่นต่างๆ
ดังต่อไปนี้
        2.2.1 HTML 1.0 เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2536 (ค.ศ.1993) นาย ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) และ 
นายเดป แรคเก็ต (Dave Raggett) ได้กำหนดให้เอกสารภาษา HTML ที่พัฒนาขึ้นต้องไม่ทำให้เอกสารที่สร้างขึ้นนั้นอ่านไม่ได้ “Any standard must not make exiting   documents (As Far As Possible)

        2.2.2 HTML 2.0 เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2538 (ค.ศ.1995)พัฒนาโดย IETF (International  Engineering Task ForceX) ซึ่งมุ่งหวังให้สามารถเปิดแสดงผลกับเว็บเบราว์เซอร์ที่ใช้งานทั่วไปได้ ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ดี บริษัท Netscape และบริษัท Microsoft  ต่างก็เพิ่มคำสั่งใหม่ๆ ลงในโปรแกรมของตนเอง เพื่อให้ผู้ให้ออกแบบเพจสามารถใช้ฟังก์ชันอื่น  นอกเหนือไปจาก HTML 2.0

        2.2.3 HTML 3.0 เกิดขึ้นในปี พ.ศ 2538 (ค.ศ 1995) ได้พัฒนาภาษา HTML ให้มีความสามารถเพิ่มขี้น 
โดยการเพิ่มการทำงานเกี่ยวกับตาราง ปรับข้อความล้อมรอบภาพ และ แสดงส่วนที่มีความซับซ้อนได้ดีขี้น รวมทั้งช่วยให้เว็บเบราว์เซอร์ย้อนกลับไปดูเว็บเพจหน้าที่เคยเข้าไปชมมาก่อนแล้วได้ดีกว่า HTML 2.0 หรือเรียกปุ่มเครื่องมือนั้นว่า “Backward”

        2.2.4 HTML 3.2 เกิดขึ้นในปี พ.ศ 2539 (ค.ศ 1996) ได้มีการเพิ่มองค์ประกอบย่อย( Element) และ คุณลักษณะ (Attribute) ที่สามารถทำงานร่วมกับหลาย ๆ เว็บเบราว์เซอร์

        2.2.5 HTML 4.0 เกิดขึ้นในปี พ.ศ 2540 (ค.ศ 1997) ความต้องการของนักออกแบบที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้องค์กร W3C ตกลงประกาศใช้ โดยมีความสามารถใช้คำสั่งใหม่ ๆช่วยให้ผู้ออกแบบเพจ สามารถควบคุมรูปแบบเอกสาร การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยซีเอสเอส (CSS ย่อมาจาก Cascading Style Sheets) การฝังออบเจคของโปรแกรมเสริมเพื่อแสดง รูปภาพและเสียง การสร้างฟอร์ม ได้ดีขึ้นและใช้ร่วมกับภาษาสคริปต์ (Scripting Language ) คือ การเขียนคำสั่งสั้นๆ ที่เรียกว่า สคริปต์ (Script) แบบต่าง ๆ เพื่อให้เว็บเพจสามารถโต้ตอบกับ 
ผู้ใช้งานได้มากขึ้น โดยสคริปต์ที่เขียนขึ้นนั้น ต้องนำไปแทรกในไว้ภาษา HTML แต่ทั้งนี้เว็บเบราว์เซอร์นั้นจะต้อง
สนับสนุนฟังก์ชันของ HTML 4.0 ด้วยความสามารถในการจัดการกับ Object Model โดย HTML
4.0 ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

                        1) แบบเคร่งครัด (Strict HTML 4.0) เป็นเอกสาร Hypertext ที่เขียนด้วย
ภาษา HTML 4.0 ตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด แท็กใดที่คณะกรรมการชุดนี้ นิยามว่า ล้าสมัย
(Deprecate) หรือ ให้เลิกใช้ (Obsolete) ก็จะไม่ใช้คำสั่งนั้นในการเขียนเอกสาร ซึ่งในความเป็นจริง
ในขณะนี้ ยังคงไม่มี เว็บเบราว์เซอร์ ใด สนับสนุนภาษา HTML 4.0 อย่างเคร่งครัด แต่คาดว่าใน
อนาคต อันใกล้ น่าจะมีความเป็นไปได้

                        2) แบบค่อยเป็นไป (Transitional/ Loose HTML 4.0) เป็นเอกสารที่สร้าง
ด้วยภาษา HTML 4.0 โดยใช้ร่วมกับคำสั่งใน HTML เวอร์ชัน 3.2 เพื่อให้ เอกสารที่สร้างขึ้นมีรูปแบบ
และใช้งานได้ตามจริง แม้ว่าจะใช้กับเว็บเบราว์เซอร์ ระบบเครือข่าย และประเภท คอมพิวเตอร์ที่
หลากหลายก็ตาม และแน่นอนว่าเอกสารที่สร้างขึ้นจะถูกจัดให้อยู่ในเป็นประเภทนี้

                        3) แบบเฟรมเซ็ท (Frameset HTML 4.0) เป็นเอกสารที่รวมเอาประเภท
Transitional เข้ากับคำสั่งแท็ก ประเภทเฟรม ได้แก่ Frame, Frameset , Noframes และ Iframe
ซึ่งเป็นแท็ก ใหม่เพิ่งจะมีในเวอร์ชัน 4.0 นี้

            2.2.6 HTML 4.01 เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ.1997) ได้พัฒนาปรับปรุงที่ผิดพลาด
ให้สมบูรณ์มีการทำงานประสิทธิภาพสูงมากขึ้น

        ในปัจจุบันทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของHTML แบบใหม่ โดยเปลี่ยนไปพัฒนาภาษามาตรฐานใหม่ที่ชื่อว่า XHTML ย่อมาจากคำว่า Extensible Hyper Text Markup  Language มาใช้ในการสร้างเว็บเพจ เพื่อขยายการใช้เว็บเพจไปสู่อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้เพิ่มมาขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML (eXtensible Markup Language) 
ที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างที่มาตรฐานดีกว่า มาใช้ทดแทน HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

            2.2.7 HTML 5.0 เป็นมาตรฐานของภาษาHTML ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาภาษา
มาร์กอัป สำหรับ รุ่นต่อไป ได้ออกเผยแพร่การใช้งานเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2551 โดยภาษา
HTML 5.0 มีรูปแบบสองแบบที่ร่วมกันคือ แบบดั้งเดิม และแบบที่สองคือ XHTML ที่ใช้ในการจัด
โครงสร้างและการแสดงผลของเนื้อหาสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บ มาตรฐานใหม่จะมีคุณลักษณะเด่นที่สำคัญ
ได้แก่

                    1) การใช้งานวิดีโอ
                    2) การแสดงตำแหน่งทางภูมิศาสตร์
                    3) การเก็บไฟล์ในลักษณะออฟไลน์
                    4) การแสดงกราฟิกส์
                    5) ชนิดของการป้อนข้อมูล แบบใหม่ เช่น search, number, range, color,
tel, url, email, date, month, week, time, datetime, datetime-local

            โดยคุณสมบัติเด่นหลายอย่างไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่ม เช่น เกียรส์  แฟลช หรือ ซิลเวอร์ไลต์ เหมือนที่ผ่านมาในการใช้งาน HTML 4.0

            HTML 5.0 ได้มีการแนะนำ องค์ประกอบของ HTML ใหม่หลายตัวเพื่อตอบสนองการใช้งานของเว็บไซต์
รุ่นใหม่ โดยส่วนหนึ่งเป็นซีแมนติก คือ วิธีการที่จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถ เข้าถึงเว็บไซต์ที่สัมพันธ์กันได้โดยอัตโนมัติ และยังสามารถดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันออกมาจากฐานข้อมูลแบบสเปรดชีต (Spreadsheet) หรือ ไฟล์รูปภาพได้ด้วย ในขณะที่ภาษา HTML รุ่นก่อน  เพียงแสดงข้อมูลผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เท่านั้น คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถรู้ว่าข้อมูลเหล่านั้น คือ  อะไรและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ผู้ใช้จะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเลือกว่าจะเข้าไปที่เว็บไซต์ใด จึงจะได้ข้อมูลที่ต้องการโดยอาศัยการคลิกไปตามการเชื่อมโยงต่างๆ (http://ninjayoru.exteen.com/
20090813/semantic-web, 2554) และองค์ประกอบบางตัวที่ตกรุ่นถูกทดแทนด้วยการทำงานด้วย
คำสั่งซีเอสเอส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น